วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สินค้ามาใหม่แนะนำ!!

มาแล้วจ้าสินค้าใหม่ ราคาสบายกระเป๋า!!






 แบตสำรอง 2600mAh 150 บาทเท่านั้น



 หูฟังมี 2 สี สีม่วง และ สีขาว 120 บาทเท่านั้นจ้า



 สายชาร์ตพร้อมอเดปเตอร์ เรียกได้ว่าครบชุดพร้อมใช้งานเลยทีเดียวแค่ 100 บาทเท่านั้น!!



Flash drive 4gb 119บาทเท่านั้น!!

 

แผ่น DVD rom 4.7gb 9 บาทเท่านั้น!!

ปลั๊กไฟ 3เมตร 50บาทเท่านั้น!!

 

ทั้งหมดนี้ก็หาซื้อได้ง่ายๆ เพียงเดินเข้าไป Business center


มหาวิทยาลัยรังสิต ตึก 2 เข้าทางหน้าตึกอยู่ซ้ายมือ

ร้านอยู่ด้านในสุดของดีราคาถูก MEMORY SHOP เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

EDI ( Electronic Data Interchange )

EDI ( Electronic Data Interchange )  
EDI คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง มีสององค์ประกอบที่สำคัญในระบบ EDI คือ การใช้ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาแทน เอกสารที่เป็นกระดาษเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากลด้วยสองปัจจัยนี้ ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก



ประโยชน์ของ EDI
- เพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว และแม่นยำ ในการรับ-ส่งเอกสาร
- ลดงานซ้ำซ้อน และลดขั้นตอนการจัดการรับ-ส่งเอกสาร
- สามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์มากที่สุด
- ลดค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน
- เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มีการแข่งขันสูงขึ้น
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า
ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ EDI
1.  มาตรฐานของคอมพิวเตอร์ของคู่การค้า  ต้องมีมาตรฐานที่เทียบเคียงกันได้
2.  ในการสื่อสารด้วยระบบ  EDI  ถ้าเป็นระหว่างประเทศ  ภาษาอาจกลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งได้  เนื่องจากแต่ละประเทศจะมีภาษาเป็นของตัวเอง
3.  ระบบ  EDI  ยังไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ  เนื่องจากระบบ  EDI  ใช้กับการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่ต้องมีแบบฟอร์มมาตรฐานเท่านั้นและสำหรับเรื่องการโอนเงินระบบ EDIไม่สามารถทำได้ 
4.  การติดตั้งจะต้องสร้างเครือข่ายส่วนตัว ( VAN ) ขึ้นมา ซึ่งราคาแพง  การใช้จึงจำกัดอยู่แค่บริษัทขนาดใหญ่

5.  เนื่องจากการติดต่อสื่อสารโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  อาจมีความไม่ปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โดรน (Drone)




(เป็นเครื่องบินเหมือนเอลิคอปเตอร์ขนาดเล็กมีหลายใบพัดบังคับได้เหมือนระบบหุ่นยนต์)
        


                      ซีอีโอของ อะเมซอน เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ชื่อดังเจ้าพ่อแห่งผู้ส่งสินค้าปลีกย่อยหรือที่ฝรั่งเรียกรีเทลเลอร์ (Retailer) คิดพัฒนาเพื่อใช้ส่งของตามบ้านต่าง ๆ ในอนาคต เรียกว่าไพร์มเซอร์วิส  บรรทุกของหรือสินค้าหนักได้ไม่เกิน 2.3 กิโลกรัม เพราะฉะนั้นจะเลือกส่งสินค้าที่มีค่าน้ำหนักไม่มาก  สามารถส่งของได้ภายในครึ่งชั่วโมงในระยะ 16 กิโลเมตรอันนี้คงจะเหมาะกับพื้นที่ประเภท รถติดจราจรติดขัด เช่น กรุงเทพฯ จาการ์ตา โตเกียว นิวยอร์ก อาจจะดีไม่แพ้มอเตอร์ไซค์ไทยก็ได้ 

         เรื่องยากสำหรับโดรนก็คงจะเป็นกฎข้อบังคับสำหรับการจราจรบนฟ้า เพราะการส่งของทางอากาศด้วยเครื่องบินหุ่นยนต์ไปยังบ้านต่าง ๆ ยังถือว่าผิดกฎหมาย อย่างเช่นของที่ส่งอาจจะเป็นลูกระเบิดลงบ้านใครสักคน จะป้องกันอย่างไร และการควบคุมการบินขณะนี้ก็จะใช้ระบบจีพีเอสบนดาวเทียม ถ้าบินในระดับเตี้ยไม่สูงมาก เวลาเจอตึกสูงระฟ้ามาก ๆ เช่น นิวยอร์ก การจัดการจราจรการบินในระดับต่ำต้องพิถีพิถันมาก คงต้องพิจารณากันเยอะ

_____________________________________________________________________________________________
=================================================================================


คลิปการทดสอบ โดรน

========================================================================
_________________________________________________________________________________

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

Self checkout [True]



ตู้รับชำระค่าบริการอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง

ตัวอย่างตู้รับชำระค่าบริการอัตโนมัติ







                        



แบ่งบริการออกเป็น 6 ประเภท คือ เติม, จ่าย, โอน, ซื้อ, จอง และบริจาค





ข้อดี
1.    ไม่มีค่าธรรมเนียมในการชำระค่าบริการ ในเครือของ True move
2.    ประหยัดเวลา ไม่ต้องต่อแถวชำระเงิน
3.    สามารถเลือกชำระได้ที่บริเวณใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็น True Shop และสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน
4.     ชำระได้ตลอดเวลา 24  ชั่วโมง

ข้อเสีย
1.    ตู้จะไม่ทอนเงินหากให้เกินไป
2.    เครื่องค้างบ่อย
3.     มีความผิดพลาด เรื่องลูกค้าบางรายชำระเงินค่าโทรศัพท์แล้ว แต่เดือนต่อมา กลับมียอดค้างชำระของเดือนที่แล้วอยู่
4.    สอบถามข้อมูลอื่นๆที่ต้องการรู้ไม่ได้

คลิปตัวอย่างการใช้งาน



วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

ลูกค้าร้าน Memory shop

             ทางร้าน Memory shop ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่มาอุดหนุนสินค้าจากทางร้านของเรา

            ทุกท่านสามารถติชมแนะนำสินค้าเข้ามาได้ทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นการคอมเม้นในบล็อค หรือ ใน Facebook fanpage :D




ลูกค้าท่านแรกที่ซื้อสินค้าจากทางร้าน Memory shop
ลูกค้าซื้อสินค้า(หูฟัง)จากทางร้าน Memory shop

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

IT Retail (RFID)

ระบบ RFID คืออะไร? PDF Print E-mail

RFID ย่อมาจากคำว่า Radio Frequency Identification เป็นระบบฉลากที่ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.. 1980 โดยที่อุปกรณ์ RFID ที่มีการประดิษฐ์ขึ้นใช้งานเป็นครั้งแรกนั้น เป็นผลงานของ Leon Theremin ซึ่งสร้างให้กับรัฐบาลของประเทศรัสเซียในปี ค.. 1945 ซึ่ง อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมาในเวลานั้นทำหน้าที่เป็นเครื่องมือดักจับสัญญาณ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวระบุเอกลักษณ์อย่างที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
RFID ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่ สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของใดๆ สามารถติดตามข้อมูลของวัตถุ 1 ชิ้นว่า คืออะไร ผลิตที่ไหน ใครเป็นผู้ผลิต ผลิตอย่างไร ผลิตวันไหน และเมื่อไร ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนกี่ชิ้น และแต่ละชิ้นมาจากที่ไหน รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งของวัตถุนั้น ๆ ในปัจจุปันว่าอยู่ส่วนใดในโลก โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการสัมผัส (Contact-Less) หรือต้องเห็นวัตถุนั้นๆ ก่อน  ทำงานโดยใช้เครื่องอ่านที่สื่อสารกับป้ายด้วยคลื่นวิทยุในการอ่านและเขียนข้อมูล    RFID มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าระบบบาร์โค้ดดังนี้
                 w
  1. มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละ   ชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit – ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
  2. ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า
  3. สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID
  4. สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Sight)
  5. ค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80 เปอร์เซ็นต์
  6. สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้า ซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท
  7. สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่อาจเกิดขึ้นจากระบบบาร์โค้ด
  8. ความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์
  9. ระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
  10. ทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก


    การทำงานของ RFID PDF Print E-mail
    ลักษณะการทำงานของระบบ RFID
    หัวใจของเทคโนโลยี RFID ได้แก่"Inlay" ที่บรรจุอุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์กับโลหะที่ยืดหยุ่นได้สำหรับการติดตามหรือทำหน้าที่เป็นเสาอากาศนั่นเอง Inlay มีความหนาสูงสุดอยู่ที่ 0.375 มิลลิเมตร สามารถทำเป็นแผ่นบางอัดเป็นชั้น ๆ ระหว่างกระดาษ, แผ่นฟิล์ม หรือพลาสติกก็ได้ ซึ่งเป็นการผลิตเครื่องหมายหรือฉลาก จากวัสดุที่มีราคาไม่แพงมากนัก ซึ่งจะเห็นว่า Inlay มีลักษณะรูปร่างที่บางมาก จึงทำให้ง่ายต่อการติดเป็นป้ายชื่อหรือฉลากของชิ้นงานหรือวัตถุนั้น ๆ ได้สะดวก
    RFID เป็นระบบที่นำเอาคลื่นวิทยุมาเป็นคลื่นพาหะเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์สองชนิดที่เรียกว่า แท็กส์ (Tag) และตัวอ่านข้อมูล (Reader หรือ Interrogator) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) โดยการนำข้อมูลที่ต้องการส่ง มาทำการมอดูเลต (Modulation) กับคลื่นวิทยุแล้วส่งออกผ่านทางสายอากาศที่อยู่ในตัวรับข้อมูล ดังแผนผังการทำงานของระบบ RFIDดังในรูป

     rf04

    แผนผังการทำงานของระบบ RFID


    ตัวอย่างการใช้งาน PDF Print E-mail
    ตัวอย่างและประสบการณ์การนำเทคโนโลยี RFID มาใช้
    Wall Mart  ร้านค้าปลีกชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งมียอดขายปีละกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ ได้ออกระเบียบกำหนดให้ Suppliers รายใหญ่ 100 ราย เช่น Gillette, Nestle’, Johnsons & Johnsonsและ Kimberly Clark ติด RFID Chip บนหีบห่อ และกล่องบรรจุสินค้าให้เรียบร้อยก่อนส่งมาถึงห้าง ส่วน Suppliers รายเล็กๆ จะต้องติดชิปในรถส่งสินค้าให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2549 WallMart มองว่า เมื่อระบบดังกล่าวเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์จะช่วยให้บริษัททราบถึงการเดินทางของสินค้าได้ทุกระยะ ตั้งแต่โรงงานของ Suppliers จนถึงศูนย์กระจายสินค้าของห้าง และเมื่อใดที่สินค้าถูกหยิบออกจากชั้นไป RFID ก็จะส่งสัญญาณเตือนไปยังพนักงานให้นำสินค้ามาเติมใหม่  ทำให้ Wall Mart ไม่จำเป็นต้องเก็บสต็อกสินค้า แต่สามารถสั่งให้ Suppliers มาส่งของได้ทันทีรวมทั้งจะช่วย guarantee ว่าสินค้ามีวางจำหน่วยตลอดเวลา และประโยชน์ที่สำคัญอีกประการ

    หนึ่งก็คือ จะช่วยลดปัญหาการโจรกรรมสินค้า และปลอมแปลงสินค้าได้อีกด้วย
    Extra Future Store  ซึ่งเป็น Supermarket ในเยอรมนี ก็ได้นำเทคโนโลยี RFID มา ใช้งานแล้ว  หากลูกค้าต้องการซื้อชีส ลูกค้าก็เพียงป้อนคำสั่งลงในหน้าจอระบบสัมผัสที่อยู่หน้ารถเข็น  จากนั้นหน้าจอก็จะปรากฏแผนที่บอกทางไปสู่ชั้นวางชีส ทันทีที่ลูกค้าหยิบชีสจากชั้นวาง ชิปที่ติดอยู่บนห่อชีสก็จะส่งสัญญาณข้อมูลไปยังแผ่นเก็บข้อมูลหนา 2 มิลลิเมตร ที่อยู่ใต้ชั้นวาง และอุปกรณ์ตรวจจับที่อยู่บนแผ่นดังกล่าวก็จะส่งสัญญาณแจ้งไปยังฐานข้อมูลของ คลังสินค้าว่า ชีสห่อนั้นถูกหยิบออกจากชั้นไปแล้ว ขณะเดียวกันข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกส่งต่อไปยังบริษัทผู้ผลิตชีสด้วย และเมื่อข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคถูกเก็บรวบรวมไว้มากพอสมควรจนสามารถ กำหนดเป็นพฤติกรรมการบริโภคได้แล้ว บริษัทผู้ผลิตและร้านค้าก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในการวางแผนการตลาด ที่เหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากขึ้น

                 ห้าง PRADA  ที่อยู่กลางกรุงนิวยอร์ก ก็ได้ทดลองนำชิปไปติดไว้กับเสื้อผ้า เมื่อใดที่ลูกค้าหยิบชุดขึ้นมา และถือไว้ใกล้ๆ กับ RFID Reader จอภาพก็จะปรากฎภาพนางแบบที่สวมชุดนั้นอยู่เพื่อให้ลูกค้าดูเป็นตัวอย่างอีกด้วย



    ปัญหาในการใช้งาน PDF Print E-mail
          ปัญหาการใช้เทคโนโลยี RFID ระบบ และเทคโนโลยีใหม่ ๆที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์ทั้งสิ้น แต่หากเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่เกิดขึ้นมนุษย์ก็จะไม่มีการพัฒนา ดังนั้นการที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้งานในหน่วยงานหรือองค์กรนั้นจำเป็นจะต้องมี การเตรียมการถึงด้านต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการใช้งาน แต่ปัญหาบางอย่างก็เกิดจากความไม่รู้ถึงกระบวนการขั้นตอนการใช้งานของผู้ใช้ งานตรงนี้ทางหน่วยงานหรือองค์กรจำเป็นจะต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรอยู่เสมอและ จะต้องฝึกให้บุคลากรมีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบไม่เช่นนั้นแล้ว เทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่จะช่วยให้ดีขึ้นกลับกลายเป็นแย่ลง

    ปัญหาด้านความถี่

    ความถี่ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลของระบบ RFID การใช้ความถี่คลื่นวิทยุนั้นจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้ย่านความถี่ทำให้การเลือกใช้ Tags ที่ มีความสามารถในการส่งสัญญาณได้ดีนั้นถูกจำกัดลง การใช้ความถี่ที่ต่ำจะมีผลทำให้ถูกรบกวนจากคลื่นวิทยุใกล้เคียงได้ง่ายกว่า เช่น คลื่นจากโทรศัพท์มือถือ คลื่นจากโทรทัศน์ เป็นต้น เพราะ tag ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปจะอยู่ในย่านความถี่ 135 Khz ,13.56 Mhz , 27.125 Mhz ถ้าสูงขึ้นจะเป็น 2.45 Ghz ราคาของ tag จะสูงขึ้นแต่จะทำให้การรบกวนของสัญญาณน้อยลง ดังนั้นหากหน่วยงานใดที่มีการนำเทคโนโลยี RFID ไป ใช้งานก็ต้องพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการรบกวนของสัญญาณว่าเป็นอย่าง ไร เช่นมีการติดตั้งตัวอ่านไว้ใกล้กับเครื่องส่งวิทยุ หรือ ใกล้เครื่องรับโทรทัศน์ หรือจากการใช้โทรศัพท์มือถือ ตัวแปรต่าง ๆเหล่านี้ย่อมมีผลต่อการลดทอนการทำงานของระบบ RFID ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลเกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้

    ปัญหาด้านวัสดุ
    ด้านวัสดุที่นำ Tag ไปติดตั้ง      
    เนื่องจากคุณสมบัติของคลื่นวิทยุจะมีคุณสมบัติของการการสะท้อนกลับ(Reflection)  การหักเห(Refraction) การแพร่กระจายคลื่น (Diffraction) การแทรกสอดของคลื่น(Interference) สาเหตุ ที่เกิดการหักเหของทางเดินของคลื่นวิทยุ เนื่องจากความเร็วของคลื่นวิทยุในตัวกลาง ที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าแตกต่างกันจะไม่เท่ากัน เช่น คลื่นวิทยุจะเดินทางในน้ำบริสุทธิ์จะช้ากว่าเดินทางในอากาศถึง 9 เท่า เป็นต้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์บางอย่างก็ไม่สามารถนำมา ติด Tag RFID ได้


    ด้านสิทธิส่วนบุคคล
    ทุกสิ่งย่อมมีสองด้านเสมอ และเทคโนโลยี RFID ก็ เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีคุณประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน แต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลเสียกับประชาชน หรือผู้บริโภคได้ ด้วยคุณสมบัติอันอัจฉริยะของเทคโนโลยี เช่น ประวัติการซื้อสินค้า หรือข้อมูลประจำตัวของเราอาจถูกบันทึกไว้ตอนซื้อสินค้าในร้านค้า และข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้โดยเจ้าของร้านค้า เพื่อทำโฆษณาขายสินค้าให้ตรงกับพฤติกรรมาของเราต่อไป นั่นหมายถึงเราจะถูกรุกรานจากโฆษณาเหล่านั้นอยู่เสมอ หรือในกรณีที่เรามี tag อยู่กับตัว ไม่ว่าจะติดอยู่กับเสื้อผ้า รองเท้า หรือสิ่งของต่าง ๆ เมื่อเราอยู่ในรัศมีสัญญาณของเครื่องอ่าน (Readers) ข้อมูล เกี่ยวกับตัวเราจะถูกเปิดเผย ทั้งหมดนี้ หมายถึงสิทธิส่วนบุคคลของเราได้ถูกละเมิด โดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว ซึ่งในหลายประเทศให้ความสำคัญ และหาทางป้องกันกับเรื่องนี้ โดยมีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิดังกล่าว แต่สำหรับประเทศไทย ประชาชนยังให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลค่อนข้างน้อย  ดัง นั้นทางผู้ที่เกี่ยวข้องจึงควรมีการเผยแพร่ และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ควบคู่ไปกับการพัฒนากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับและป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีในปัจจุบัน และอนาคตได้

      ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
              พบช่องโหว่ในระบบพาสปอร์ตอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการใช้ชิป RFID (Radio Frequency Identification) ที่ ได้รับความนิยมใช้งานในการ์ดประเภทต่าง ๆ สำหรับยืนยันตัวบุคคล และเก็บข้อมูล โดยเฉพาะเอกสารสำหรับการเดินทางในต่างประเทศอย่างพาสปอร์ต (Passport) เนื่อง จากสามารถย่นเวลาในการตรวจเอกสารเข้าเมืองของเจ้าหน้าที่ลงได้มากกว่าเดิม แต่พบว่าการปลอมแปลงข้อมูลจากชิปดังกล่าวทำได้ง่ายมาก เพียงแค่มีเครื่องอ่าน (RFID reader) กับเครื่องไรท์ข้อมูลลงบัตรสมาร์ทการ์ด (Smart Card Writer) เท่า นั้น   ดังนั้นการที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดจำเป็นจะต้องปรับ ปรุงแก้ไขระบบการทำงานและกระบวนการใช้งานของเทคโนโลยีที่เหมาะสมพอที่จะให้ โอกาสหรือหนทางของกลุ่มมิจฉาชีพนั้นมีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

    วีดีโออธิบาย RFID กับค้าปลีก